เงินเฟ้อคืออะไร พร้อมตัวอย่างเหตุการณ์เงินเฟ้อในประวัติศาสตร์ไทย

เงินเฟ้อคือ

หลายคนที่ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจและการเงิน คงรู้จักสภาวะเงินเฟ้อเป็นอย่างดี เงินเฟ้อคือสภาวะที่เรียกง่าย ๆ ว่าข้าวยากหมากแพง สินค้าปรับราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามกาลเวลาที่ผ่านไป มีเหตุปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน นอกจากเงินเฟ้อในระดับปกติแล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่าเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyperinflation) อีกด้วย เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นได้หากมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยของเงินเฟ้ออย่างหนัก เช่น สงคราม ภาวะภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ เป็นต้น ในประเทศไทยของเราเองก็มีเหตุการณ์สภาวะเงินเฟ้อที่น่าศึกษา เพื่อให้เราเข้าใจปัจจัยที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อมากขึ้น

เงินเฟ้อคืออะไร เข้าใจง่าย ๆ ใน 1 บรรทัด

เงินเฟ้อคือ “สภาวะที่เราต้องใช้เงินมากขึ้น เพื่อซื้อสินค้าชิ้นเดิม” นี่คือคำอธิบายที่ง่ายที่สุดของเงินเฟ้อ 

สภาวะนี้ยังทำให้มีปริมาณเงินอยู่ในระบบเศรษฐกิจมากเกินไป จนเงินมีมูลค่าลดลง โดยมีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ เพราะระบบเศรษฐกิจเกี่ยวพันกันกับปัจจัยทางสังคมหลายประการ ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ ที่สำคัญ คือ การมีอุปสงค์มากกว่าอุปทาน กล่าวคือ ความต้องการสินค้าสูง แต่ปัจจัยการผลิตสินค้าขาดแคลน ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูงขึ้น ส่งผลให้สินค้ามีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย ยังรวมไปถึงนโยบายบริหารประเทศ และเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดสภาวะไม่แน่นอนต่าง ๆ อีกด้วย

เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย ที่ทำให้เงินเฟ้อคือช่วงยากลำบากของชีวิตผู้คน

ในอดีตเงินเฟ้อคือคำที่อาจไม่ค่อยคุ้นหูคนไทย เพราะยังไม่เข้าใจกลไกระบบเศรษฐกิจ ประกอบกับยังไม่มีใครให้ความสนใจเรื่องความรู้ทางการเงินอย่างมีหลักการ แต่เมื่อเกิดวิกฤตเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ คนไทยก็เริ่มทำความเข้าใจระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งเรามีเคสตัวอย่างให้ลองศึกษาด้วย

  1. สงครามมหาเอเชียบูรพา

สงครามเป็นหนึ่งในสถานการณ์ไม่แน่นอนที่ก่อให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะนั้นกองทัพญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันในภูมิภาคแถบนั้นว่า สงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อกองทัพญี่ปุ่นมาตั้งฐานทัพในประเทศเรา ก็มีการพิมพ์ธนบัตรออกใช้จำนวนมาก เนื่องจากไม่ใช่เฉพาะคนไทยที่ต้องการใช้ ทหารญี่ปุ่นก็ต้องใช้ธนบัตรเช่นกัน เมื่อพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบจำนวนมาก แต่ไม่มีมาตรการที่แน่นอนมาค้ำประกันมูลค่า เงินเฟ้อจึงมีอัตราสูง อีกทั้งสงครามยังทำให้ข้าวของหาซื้อได้ยากและมีราคาสูง จึงบอกได้เลยว่า เงินเฟ้อคือยุคข้าวยากหมากแพง เพราะการหาสินค้ามาขายก็เป็นเรื่องยาก ราคาขายจึงถีบตัวสูงขึ้น 

  1. วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง พ.ศ. 2540

ขยับช่วงเวลาเข้ามาใกล้กับปัจจุบันด้วยวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ที่ทำให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของความรู้ทางการเงินและเศรษฐกิจของไทยมากขึ้น จากช่วงแรก ๆ ก่อนฟองสบู่แตก เศรษฐกิจกำลังเฟื่องฟูเป็นอย่างดี เกิดการกู้ยืมเพื่อลงทุนและเพื่อการบริโภคมากมาย ทั้งในระดับผู้บริโภคไปจนถึงการกู้ยืมเงินต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ สมัยนั้นค่าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25 บาทไทย ซึ่งอยู่ในอัตราคงที่ และมีอัตราดอกเบี้ยสูงมากถึงประมาณ 12-14% เมื่อกู้เงินมากขึ้น การค้าขายสินค้าราคาแพงเกินควรก็มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเงินเฟ้อมากขึ้นนั่นเอง แต่แล้วเมื่อธนาคารกลางประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จาก 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25 บาท กลายเป็น 50 บาท ทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น เกิดวิกฤตในธุรกิจหลายประเภท โดยเฉพาะกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ หลายธุรกิจล้มละลายเนื่องจากหนี้สิน หลังจากวิกฤตต้มยำกุ้ง พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา มาตรการในการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินจึงมีความเข้มงวดมากขึ้น ไม่ปล่อยให้เกิดการกู้อย่างง่ายดาย โดยไม่มีเครดิตที่เชื่อถือได้อย่างในอดีตอีกต่อไป 

  1. เงินเฟ้อหลังวิกฤตโควิด-19

เหตุการณ์ที่ใกล้ตัวทุกคนที่สุดก็คือวิกฤตโควิด-19 นั่นเอง แม้ในระหว่างที่เกิดการระบาดจะทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก และชะลอตัวไปพักใหญ่ แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง รัฐบาลแก้ไขสถานการณ์โดยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ ปรับตัวแพงขึ้นตามไปด้วย เงินเฟ้อคือผลที่ตามมาหลังจากความพยายามที่จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็วนั่นเอง แต่ในอนาคตจะมีการปรับตัวลดลง เพื่อไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูงมากจนเกินไป นี่จึงเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชน ในขณะที่รายได้ยังไม่ได้ปรับให้สูงขึ้นตาม

เงินเฟ้อคือสภาวะที่ทุกคนไม่อยากให้เกิด แต่กลไกของเศรษฐกิจนั้นซับซ้อน อีกทั้งยังเกี่ยวโยงกับปัจจัยด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่โยงใยเศรษฐกิจทั่วโลกเอาไว้ด้วยกัน การติดตามข่าวสารเพื่อให้รู้ทันเงินเฟ้อ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวางแผนทางการเงินของทุกคน